29/6/59

: ขอเชิญร่วมประดับธงตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559



เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 ขอเชิญร่วมประดับธงตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ ตามอาคารสถานที่ของหน่วยงานและอาคารบ้านเรือน ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2560







: มาตรการและแนวทางปฏิบัติในการประหยัดน้ำของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๓ (ชลบุรี)



สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) ได้เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน รองรับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐ เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและ  มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นตัวอย่างในการดำเนินการสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้การดำเนินงานโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เรื่อง การประหยัดน้ำของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอประกาศมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการประหยัดน้ำ ดังนี้
๑. การล้างมือให้ใช้สบู่เหลวแทนการใช้สบู่ก้อนเพราะการใช้สบู่ก้อน ล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการใช้สบู่เหลว และทำให้สิ้นเปลืองน้ำมากกว่า
๒. การล้างจานหรือภาชนะอื่นๆให้ใช้ภาชนะรองน้ำไว้และล้างในภาชนะ จะประหยัดน้ำได้มากกว่าการล้างด้วยวิธีปล่อยน้ำให้ไหลจากก๊อกน้ำตลอดเวลา
๓. การล้างรถยนต์
๓.๑ การล้างทำความสะอาดรถยนต์ชองพนักงานขับรถ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำจากถังในการเช็ดถูทำ
ความสะอาด ห้ามใช้สายยางต่อท่อประปาฉีดล้างโดยตรง
๓.๒ ห้ามนำรถยนต์ส่วนตัวเข้ามาเช็ดล้างภายในสำนักงาน
๔. การรดน้ำต้นไม้
๔.๑ การรดน้ำต้นไม้ให้มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง และควรใช้ Sprinkler หรือฝักบัวรดน้ำต้นไม้
แทนการฉีดน้ำด้วยสายยาง หรือปล่อยน้ำทิ้งไว้ จะช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่า
๔.๒ ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัดเพราะน้ำจะระเหยหมดไปเปล่าๆ ควรรดน้ำต้นไม่ในตอน
เช้าที่อากาศยังเย็นอยู่ซึ่งการระเหยจะต่ำกว่า ช่วยประหยัดน้ำได้มาก
๔.๓ นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปรดน้ำต้นไม้แทนการใช้น้ำประปา
๕. ควรใช้ถุงหรือขวดบรรจุน้ำมาใส่ในโถชักโครกเพื่อลดการใช้น้ำ
๖. ไม่ควรทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิดลงในโถชักโครก เพราะจะสูญเสียน้ำปริมาณมากจากการชักโครกเพื่อไล่สิ่งของดังกล่าวลงท่อ
๗. สำรวจตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ เพื่อลดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์ โดยดำเนินการ
๗.๑ ตรวจสอบท่อน้ำรั่วภายในสำนักงาน
๗.๒ ตรวจสอบเครื่องใช้สุขภัณฑ์ว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่
๘. กรณีที่อุปกรณ์ชำรุดและจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ให้พิจารณาจัดหาอุปกรณ์ที่ประหยัดน้ำทดแทน เช่น ก๊อกประหยัดน้ำ ซักโครกประหยัดน้ำ ฝักบัวประหยัดน้ำ หัวฉีดประหยัดน้ำ โถปัสสาวะชายประหยัดน้ำ เป็นต้น


เผยแพร่โดย : ส่วนเฝ้าระวังและเตือนภัย
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)





: มาตรการและแนวทางปฏิบัติในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๓ (ชลบุรี)



สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) ได้เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน รองรับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐ เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและ  มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นตัวอย่างในการดำเนินการสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
พื่อให้การดำเนินงานโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เรื่อง การใช้พลังงานไฟฟ้า ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอ
ยกเลิกประกาศสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) เรื่อง มาตรการและแนวทางปฏิบัติในการลดการใช้พลังงาน และขอประกาศมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ฉบับปรับปรุง ดังนี้
๑.การประหยัดพลังงานไฟฟ้าแสงสว่างภายในห้องทำงาน                                                                              
          ๑.๑ ปิดไฟฟ้าเมื่อพักเที่ยง ๑๒.๐๐ น – ๑๓.๐๐ น. หรือ หลังเลิกใช้งาน
          ๑.๒ ติดตั้งแผงสะท้อนหลอดไฟ
          ๑.๓ เลือกใช้อุปกรณ์แสงสว่างประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ บัลลาสต์ และโคมไฟ
          ๑.๔ ควบคุมแสงสว่างให้เหมาะสมกับการใช้งาน
          ๑.๕ ลดความสว่างที่เกินความจำเป็น (Over Light Compensation) เช่น บริเวณทางเดินที่ไม่จำเป็นต้องสว่างมาก วิธีลดความสว่างง่ายที่สุด คือ ปลดหลอดไฟออก
          ๑.๖ บำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบการทำงานและความสว่าง ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ๓-๖ เดือน
          ๑.๗ ใช้แสงธรรมชาติช่วยลดการใช้พลังงานจากแสงไฟ
          ๑.๘ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอาคาร ทั้งฝาผนัง พื้น เพดาน และเครื่องจักร ควรเลือกใช้                 สีอ่อน เพราะค่าการสะท้อนแสงสูงจะช่วยให้ห้อง หรือบริเวณห้อง หรือบริเวณทำงาน ดูสว่างมากขึ้น
          ๑.๙ การเปิด-ปิดไฟฟ้าในเวลากลางคืนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ให้เปิดเฉพาะจุดที่จำเป็นและไม่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อบุคคลและทรัพย์สินของทางราชการ
๒. การประหยัดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ
          ๒.๑ ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ ๒๕ องศาเซลเซียส
          ๒.๒ ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ควรหมั่นตรวจสอบและ    อุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตู ช่องแสง
          ๒.๓ ปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ หรือติดตั้งและใช้อุปกรณ์ ควบคุมการเปิด-ปิดประตูในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
          ๒.๔ ทำความสะอาดและดูดฝุ่นบ่อยๆ อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง เพราะหากฝุ่นอุดตันจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศลดลง
          ๒.๕ อย่านำความร้อน หรือของที่มีความชื้นเข้าไปไว้ในห้องปรับอากาศ เช่น กาต้มน้ำร้อน กระถางต้นไม้ เครื่องทำความร้อนต่างๆ เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น เนื่องจากเมื่อมีการนำความร้อนหรือความชื้นเข้ามาในห้องจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น
          ๒.๖ ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย และใช้พลังงาน
          ๒.๗ ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในอาคาร
          ๒.๘ ใช้มูลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคาร และบุฉนวนกันความร้อนตามหลังคาและ    ฝาผนัง เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป
          ๒.๙ ควรปลูกต้นไม้รอบๆอาคารสำนักงาน เพื่อช่วยบังแสงแดดด้านข้างหรือเหนือหลังคา เพื่อเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
          ๒.๑๐ ปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยลดความร้อน และเพิ่มความชื้นให้กับดินจะทำให้สำนักงานเย็น          ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจนเกินไป
          ๒.๑๑ ในห้องทำงานเปิดเครื่องปรับอากาศช่วงเช้า เวลา 10.00 น.และควรปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงเวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ นและปิดเครื่องปรับอากาศช่วงเย็น เวลา ๑๖.๐๐ น. รวมทั้งปิดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น
๓. การประหยัดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องมือและอุปกรณ์ในสำนักงานอื่นๆ
          ๓.๑ ปิดเครื่องหลังเลิกงานพร้อมทั้งถอดปลั๊ก
          ๓.๒ ปิดจอคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยง
          ๓.๓ ตั้งค่าหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็น energy saving mode
๔. การลดพีคไฟฟ้า (Peak  Load) ตามมาตรการแนวปฏิบัติของกระทรวงพลังงาน ๒๕๕๙ “ปิด ปรับ ลด เปลี่ยน” ดังนี้
           ๔.๑ ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นในช่วงเวลา ๑๔.๐๐ น. – ๑๕.๐๐ น.
           ๔.๒ ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศจาก ๒๕ องศาเซลเซียส เป็น ๒๖ องศาเซลเซียส
           ๔.๓ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน
           ๔.๔ เปลี่ยนไปใช้เครื่องปรับอากาศที่มีค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานตามฤดูกาล                     (ค่า SEER) สูง หรือใช้หลอด LED แทนการใช้หลอดไฟฟ้าแบบไส้




เผยแพร่โดยส่วนเฝ้าระวังและเตือนภัย
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)

: มาตรการและแนวทางปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ์สำนักงานของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๓ (ชลบุรี)


สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) ได้เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน รองรับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐ เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและ  มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นตัวอย่างในการดำเนินการสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  เพื่อให้การดำเนินงานโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เรื่อง การใช้ทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ์ ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอประกาศมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรที่มีในสำนักงานและใช้เป็นประจำอย่างเหมาะสม เพื่อลดการเกิดของเสียจากกิจกรรม ได้แก่ กระดาษ หมึกพิมพ์อุปกรณ์เครื่องเขียน และอุปกรณ์สำนักงาน ดังนี้

.  การเลือกใช้และประหยัดกระดาษในสำนักงาน
๑.๑  เลือกซื้อและใช้กระดาษจากหน่วยงานที่ได้รับรองด้านเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น กระดาษกรีนการ์ด กระดาษไอเดียกรีน Double A 30% เป็นต้น
๑.๒  เศษกระดาษจากการพิมพ์หรือถ่ายเอกสารหน้าเดียว : ใช้หน้าที่ว่างเป็นกระดาษบันทึกข้อความ หรือร่างหนังสือ
๑.3  ควบคุมปริมาณกระดาษที่ใช้ในการถ่ายเอกสาร และควรกำหนดแนวทางให้มีการถ่ายเอกสารเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานในสำนักงาน และที่จำเป็นเท่านั้น
๑.๔  ซองจดหมายต่างๆ ที่ใช้แล้ว : สามารถนำกลับมาใช้ส่งเอกสารภายในสำนักงาน หรือตัดมุมทั้ง 4 มุม ใช้หนีบกระดาษ
๑.๕  หนังสือเก่า : นำไปบริจาคห้องสมุด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยัง ประดิษฐ์เป็นดอกไม้ใช้ตกแต่งสถานที่ หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์ได้
๑.๖ หนังสือพิมพ์เก่า : ใช้ห่อของขวัญ ประดิษฐ์ดอกไม ้หรือนำไปใช้ในการเช็ดกระจก
๑.๗  กล่องกระดาษต่าง ๆ : นำมาใช้เป็นถังขยะ
๑.๘  ตรวจสอบรายละเอียดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องก่อนสั่งพิมพ์เพื่อลดปริมาณขยะกระดาษ
๑.๙  ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ลดการใช้กระดาษและพลังงานในการผลิตได้มาก
2.  การประหยัดหมึกพิมพ์ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร (Fax) และเครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer)
๒.๑  ตรวจสอบรายละเอียดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องก่อนสั่งพิมพ์ เพื่อลดการสิ้นเปลืองหมึกพิมพ์ หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
๒.๒  กำหนดการสั่งพิมพ์เป็นแบบข้อความเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การพิมพ์ผ่านโปรแกรม PowerPoint จะต้องตัด background รูปภาพ ออก เนื่องจากเป็นส่วนที่ไม่จำเป็น หรือแม้แต่ว่าหากต้องการพิมพ์แค่เฉพาะตัวอักษรในหน้าเว็บไซต์นั้นๆ สามารถคัดลอกไปวางใน โปรแกรม Word หรือ Notepad
๒.๓  ห้ามดึงสายไฟออกในขณะที่ยังไม่ปิดเครื่องปริ้นเตอร์ เนื่องจากหัวพิมพ์จะยังไม่กลับไปเข้าที่เดิม จึงมีผลทำให้หัวพิมพ์อุดตันได้ง่าย และเครื่องจะเสียเร็วกว่าปกติ
๒.๔  ใช้งานปริ้นเตอร์อย่างสมํ่าเสมอ หากไม่มีการใช้อย่างต่อเนื่องต้องมีการพิมพ์อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง จะช่วยให้ตลับหมึกไม่แห้งและอุดตัน
 ๒.๕  ดำเนินการซ่อมบำรุงเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร และเครื่องปริ้นเตอร์ อย่างสมํ่าเสมอ
3.  การประหยัดวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน
๓.๑  การเบิกวัสดุอุปกรณ์ ควรเบิกเฉพาะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและในปริมาณที่พอเหมาะ               โดยใช้ร่วมกันอย่างประหยัด เพราะวัสดุบางประเภทเมื่อเก็บไว้นานๆ จะเสื่อมสภาพได้
 ๓.๒  กำหนดแนวทางควบคุมการเบิกวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน เช่น กำหนดความถี่ในการเบิก เช่น เดือนละ 2 ครั้ง เป็นต้น
๓.๓  วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน เช่น กรรไกร คัตเตอร์ ที่เย็บกระดาษ เป็นต้น ควรเบิกใช้เป็นส่วนรวม เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้ต่อบุคคล


เผยแพร่โดย : ส่วนเฝ้าระวังและเตือนภัย
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี)